นวัตกรรมการเรียนการสอน
ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู – อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง
ๆ นั้น
คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง
ความหมาย
คำจำกัดความของคำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่
ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย
ความสำคัญ
ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา ก็คือ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1.
เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น
1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง
ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น
นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
1.3
ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย
ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่
ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู
– อาจารย์ท่านอื่น ๆ
หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู – อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน
ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
เทคนิคในการจัดทำ
1.
ในการผลิตสื่อการสอน ควรเน้นในเรื่องความประหยัดและให้เกิด
ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน (ทำจริง – ใช้จริง
– มีประโยชน์ต่อนักเรียนจริง)
2.
ต้องมีคู่มือในการใช้สื่อและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถให้รายละเอียดในเรื่องต่าง
ๆ
-
จุดประสงค์ในการสร้างสื่อ
-
วัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่าย
-
รูปแบบที่ต้นแบบ
-
วิธีการทำ / ผลิต / ประดิษฐ์
-
การทดลองใช้ / การปรับปรุงแก้ไข
-
ประโยชน์ / การนำไปใช้
-
คุณภาพ / ประสิทธิภาพ /
-
หลักฐานการนำไปใช้
อ้างอิง : สมเดช สีแสง และคณะ. 2543.ปฏิรูปการเรียนรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.
นครสวรรค์ : ริมปิง
เทคนิคการสอนแบบ
CIPPA
การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง:โมเดลซิปปา
ในปัจจุบันแนวการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
แนวความคิดในการจัดการศึกษานี้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยการกระทำ(Learning by Doing)ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมที่หลากหลาย มีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
เพื่อส่งเสริมความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของผู้เรียน
โมเดลซิปปา(CIPPA MODEL) เป็นการเรียนการสอนที่เป็นแนวคิดหลักที่เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
ซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางซิปปานี้พัฒนาขึ้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี อาจารย์ประจำภาควิชาประถมศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นนักการศึกษาผู้มีประสบการณ์สอนและการนิเทศการสอน ได้กล่าวว่า
แนวคิดในการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาไทยมีมานานแล้ว
แต่ยังไม่เกิดผลในการปฏิบัติที่เป็นน่าพอใจ ครูจำนวนมาก ขาดความรู้ความเข้าใจ
และขาดแนวทางที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยเหตุผลนี้ ทิศนา
แขมมณี จึงได้เสนอแนวคิดและแนวทางในการนำไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม
โดยให้ความสำคัญกับการให้ผู้เรียนเป็นจุดสนใจ (Center of attention) หรือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ กล่าวคือ
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หากผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นมาก
ผู้เรียนก็จะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนรู้มาก
และควรจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นตามมา
แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้ผู้เรียนมีส่วนเรียนร่วมอย่างผูกพัน
ทิศนา แขมมณี (2543) ได้เสนอไว้ดังนี้
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรช่วยให้ผู้เรียน
ได้มีส่วนร่วมทางด้านร่างกาย คือ
กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อช่วยให้ประสาทรับรู้ของผู้เรียนตื่นตัว
พร้อมที่จะรับข้อมูลสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น
ตามความเหมาะสมกับวัยและระดับความสนใจของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
แนวคิด
การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน
เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา
ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
ความหมาย
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
คือ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง
วัตถุประสงค์
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2.
ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3.
รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน
4.
ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5.
ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง
ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง
ประเภทของโครงงาน
1. โครงงานแบบสำรวจ
2. โครงงานแบบทดลอง
3. โครงงานสิ่งประดิษฐ์
4. โครงงานทฤษฎี
รูปแบบการจัดทำโครงงาน
1. ชื่อโครงงาน
2. คณะทำงาน
3. ที่ปรึกษา
4. แนวคิด / ที่มา /
ความสำคัญ
5. วัตถุประสงค์ /
จุดมุ่งหมาย
6. ขั้นตอนการดำเนินงาน
/ วิธีการศึกษา
7. แหล่ง / สถานศึกษา
(ถ้ามี)
8. วัสดุ อุปกรณ์
9. งบประมาณ
10.
ระยะเวลาการดำเนินงาน
11.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ขั้นตอนในการสอนทำโครงงาน
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมี 4
ขั้นตอน คือ
1.
กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง
2.
วางแผนหรือวางโครงงาน
นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร
ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด
จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. ขั้นดำเนินการ ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา
4. ประเมินผล
โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มีข้อบกพร่อง
และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร
วิธีการทำโครงงาน
1.
ประชุมปรึกษาหารือ
เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน
จากสิ่งต่อไปนี้
- การสังเกต
หรือตามที่สงสัย
-
ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
-
จากปัญหาใกล้ตัว หรือการเล่น
- คำบอกเล่าของผู้ใหญ่ หรือผู้รู้
2. เขียนหลักการ เหตุผล
ที่มาของโครงงาน
3.
ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
4. กำหนดวิธีการศึกษา
เช่น การสำรวจ การทดลอง
เป็นต้น
5.
นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
6. สรุปผลการศึกษา โดยการอภิปรายกลุ่ม
7.
ปรับปรุงชื่อโครงงาน ให้ครอบคลุม น่าสนใจ
การประเมินผลการทำโครงงาน
ครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินการทำโครงงานของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
โดยใช้แบบประเมินแผนผังโครงงานพิจารณาตามรายละเอียดดังนี้
1.
ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2.
ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3.
สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5.
แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. วิธีการนำเสนอชัดเจน
เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา
การสอนให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง
(Student
Centered Learning)
โดยคำนิยามที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
เป็นการเรียนการสอนตามความต้องการของนักศึกษา ซึ่งแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกัน
จึงอาจเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องเรียนขนาดใหญ่
การวิจัยพบว่าการสอนวิธีนี้ทำให้นักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้น
เพราะเป็นเรื่องที่เขาต้องการเรียน เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของเขา ทำให้มีแรงจูงใจให้เรียนรู้
โดยครูเป็นผู้ประสานความรู้เพื่อให้นักเรียนไปถึงจุดหมาย
ครูจะต้องมองว่า
เราสอนใคร เพื่อให้เขาทำอะไร และ
จะสอนอย่างไร หากรู้พื้นฐานนักเรียน (สอนใคร)
ก็จะสามารถจัดกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานเขาได้
และการสอนต้องให้เขาตระหนักในประโยชน์ (เพื่ออะไร) จากนั้นจึงดำเนินการสอน
(อย่างไร) ให้สอดคล้องและได้ประโยชน์สูงสุด
ซึ่งวิธีการสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
น่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง
วิธีการเสนอแนะในการสอนแบบนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง
1. อาจารย์แจกเค้าโครงรายวิชาให้นักศึกษา
โดยอาจารย์ไม่สอน แต่แนะแนวทางให้นักศึกษาคิดและ แก้ปัญหา
นักศึกษาจะต้องอ่านหนังสือมาก่อน
นักศึกษาเป็นผู้ออกแบบเนื้อหา กำหนดเนื้อหาเอง ซึ่งการวัดผล จะต้องใช้ ข้อสอบที่มีมาตรฐานเดียวกัน
ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควร
2. การเรียนแบบโครงงาน โดยในวิชานั้นนักศึกษาจะต้องทำโครงงานย่อย 4
โครงการ ใช้เวลาโครงการละ 2 สัปดาห์
นักศึกษาจะต้องตั้งปัญหาในแต่ละโครงการแล้วเชื่อมต่อโครงการกับทฤษฎีที่อาจารย์เสนอแนะไว้ แต่ก่อนปิดรายวิชาอาจารย์ต้องสรุปและเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของรายวิชา
ประเด็นเสนอแนะปลีกย่อย
1.
ครูต้องเก่งมากจึงจะเป็นผู้ประสานวิชาการอันหลากหลายได้
2. น่าจะปฏิรูปมหาวิทยาลัยให้เป็น Student Centered
Service เสียด้วย คือให้นักศึกษาบริการตนเองในเรื่องต่างๆ
ซึ่งจะฝึกให้นักศึกษารู้จักรับผิดชอบมากขึ้น
3.
วิธีนี้สามารถทำได้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา
แต่หากเป็นระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยจะต้องควบคุมขนาดชั้นเรียน
และกำหนดทิศทางในการจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจน
4. ความยากคือการตรวจงาน การประเมิน
วิธีที่น่าทดลองคือ ให้เด็กตรวจงานกันเอง
5. น่าจะมีชั้นเรียนทดลองวิธีนี้
อาจารย์ท่านใดต้องการทดลองโปรดแจ้งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
6.
อาจทดลองให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาวิชาสัก 10 - 20 %
7. พอทำได้ในชั้นปีที่ 3 – 4
เนื่องจากนักศึกษามีความรู้พื้นฐานที่จะบูรณาการได้แล้ว ส่วนในชั้นปีที่ 1
– 2 นั้น อาจทำไม่ได้
8. สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ รศ.ดร.ทวิช
ทดลองใช้วิธีแบ่งกลุ่มทำการบ้านและตรวจการบ้านกันเองโดยการสลับกลุ่ม
โดยเฉลยให้เฉพาะหลักการ นับว่าเป็นการเรียนแบบนเป็นศูนย์กลางในระดับหนึ่งและอีกรูปแบบหนึ่ง
1.วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย
(Lecture)
ความหมาย
วิธีสอนโดยใช้การบรรยายคือ
กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
โดยการพูด บอก เล่า อธิบาย สิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถาม
แล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
วัตถุประสงค์
เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือข้อความรู้จำนวนมากพร้อมๆ
กันได้ในเวลาที่จำกัด
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
1. ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรยาย
2.
ผู้สอนบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย ) เนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
3.
ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.วิธีสอนโดยใช้การสาธิต
(Demonstration)
1.
แนวคิด
เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์ตรงมากที่สุด
ซึ่งเป็นการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ดูหรือผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำด้วยตนเอง
ทำให้การเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และตรงกับแนวคิดของกรวยประสบการณ์ที่ เอดก้า เดล
ได้กล่าวไว้ดังนี้
2.
ลักษณะสำคัญ
วิธีสอนแบบสาธิตเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรู้
ประสบการณ์ แนวทาง เช่น การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง
ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ให้การเรียนรู้ค่อนข้างสมบูรณ์
3.
วัตถุประสงค์
1.
ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส
2.
มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น
3.
ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ และสามารถสรุปผลได้
4.
เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น ๆ ด้วยได้
4.
จำนวนผู้เรียน
การสาธิตเป็นการแสดงให้ดู
การลองทำหรือผู้เรียนได้มีโอกาสปฏิบัติ
ดังนั้นการจัดกลุ่มผู้เรียนต้องไม่มากเกินไป เช่น 5-7 คน หรือน้อยกว่า
อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มผู้เรียนจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย วิธีการสาธิต
สถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสาธิต
5.
ระยะเวลา
ระยะเวลาของการสาธิตขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการจัดเนื้อหา
เรื่องราวที่จะสาธิตเป็นสำคัญหากมีขั้นตอนและเนื้อหามาก การสาธิตก็ต้องใช้เวลานาน
หรืออยู่ที่วิธีการสาธิต
บางอย่างผลของการสาธิตต้องอาศัยเวลานานจึงจะเห็นผลที่เกิดขึ้น
แต่กิจกรรมสาธิตบางเรื่องสามารถเน้นผลได้ในทันที
6.
ลักษณะห้องเรียน
การสอนแบบสาธิต
อาจจะแบ่งลักษณะของห้องเรียนหรือสถานที่ได้ 3 รูปแบบ คือ
6.1
การสาธิตในห้องทดลอง กระบวนการสาธิตในลักษณะนี้จะต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ
ในห้องทดลอง เช่น การสาธิตเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ การผสมสารเคมี
ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อนและขั้นตอน ผู้สาธิตต้องรู้และเข้าใจกระบวนการสาธิตเป็นอย่างดี
เพราะรูปแบบการสาธิตวิธีนี้บางครั้ง หากทำผิดพลาดอาจจะเกิดเรื่องเสียหายได้
6.2
การสาธิตในห้องเรียน รูปแบบการสาธิตวิธีนี้อาจจะเป็นการสาธิตเรื่องราวต่าง ๆ
ของบทเรียนที่มี ไม่จำเป็นต้องทำในห้องทดลอง และบางครั้งก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย
เช่น การสาธิต วิธีการ การสาธิตท่ายืน เดิน นั่ง การสาธิตท่ากราบไหว้ที่ถูกต้อง
เป็นต้น
6.3
การสาธิตนอกห้องเรียน การสาธิตรูปแบบนี้อาจจะต้องใช้สถานที่นอกห้องเรียน เช่น
สนามกีฬา หรือในแปลงสาธิตทางการเกษตร เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยสถานที่ หรือบริเวณกว้างขวางกว่าห้องเรียน
7.
ลักษณะเนื้อหา
รูปแบบการสอนแบบสาธิตสามารถใช้ได้กับเนื้อหาในทุกวิชา
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน และผู้สอนวิเคราะห์แล้ว
การใช้กิจกรรมการสาธิตจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เช่น
การทดลองวิทยาศาสตร์ การสาธิตวิธีการประกอบอาหาร หรือการสาธิตการเล่นกีฬา
หรือการออกกำลังกายในท่าที่ถูกต้อง ฯลฯ
จะสังเกตได้ว่าเป้าหมายของการสอนแบบสาธิตคือ
ต้องการให้ผู้เรียนได้เน้นกระบวนการของเรื่องหนึ่งเรื่องใด
เพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำไปปฏิบัติได้
8.
บทบาทผู้สอน
วิธีสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของผู้สอนมากกว่าผู้เรียน
ทั้งนี้การสอนแบบสาธิตจะมีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโดยต้องการทำให้ดู
และการบอกให้เข้าใจ
บางครั้งเรื่องที่สาธิตนั้นอาจจะมีขั้นตอนหรือต้องอาศัยความชำนาญการในการทำ
หรือบางครั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตนั้นมีราคาแพง
หรือแตกหักชำรุดง่าย ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้ทำเสียเอง
อย่างไรก็ตามการสาธิตที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมด้วย
โดยเฉพาะหากการเรียนการสอนเน้นอยู่ที่ตัวผู้เรียน
ผู้เรียนต้องมีโอกาสได้สาธิตด้วยตนเองให้มากที่สุดเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง
9.
บทบาทผู้เรียน
วิธีสอนแบบสาธิตโดยทั่วๆ
ไป ผู้เรียนจะมีบทบาทน้อยเป็นเพียงผู้ดูและผู้ฟัง
อาจจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย เท่านั้น
แต่การสาธิตที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด
ยิ่งถ้ามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงด้วยคือ มีโอกาสได้ปฏิบัติภายหลังการสาธิตด้วยแล้ว
ก็ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
10.
ขั้นตอนการสอน
ก่อนการสาธิต
มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
1. การกำหนดวัตถุประสงค์
ของการสาธิตให้ชัดเจนว่าการสาธิตนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไรการสาธิตบางอย่างเป็นการสาธิตกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการ
ขั้นตอน เช่น การสาธิต ขั้นตอนการยิงลูกโทษ การสาธิตการเตะตะกร้อ
และการสาธิตบางเรื่องต้องการสาธิตให้เกิดผลตามที่ต้องการ เช่น การสาธิตในห้องทดลอง
2. การเตรียมการ
ผู้สอนต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการสาธิต
เตรียมขั้นตอนการสาธิตซึ่งวิธีการเตรียมที่ถูกต้องคือ ต้องลองสาธิตดูก่อน
เป็นการตรวจสอบว่าขั้นตอนเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ หากเกิดปัญหาใด ๆ
ขึ้นก็มีโอกาสแก้ไขได้ก่อน
11.
สื่อการสอนแบบสาธิต
การสอนแบบสาธิตก็เช่นเดียวกับวิธีการสอนแบบอื่น
ๆ ที่สามารถนำสื่อในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ได้
แต่ส่วนใหญ่การสาธิตนั้นหากเป็นการสาธิตที่ไม่ใช้วัสดุ อุปกรณ์ใด ๆ
ตัวผู้สอนจะเป็นสื่อที่สำคัญ
ดังนั้นผลของการสาธิตจะบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่จึงขึ้นอยู่กับผู้สอน
แต่แนวทางที่จะให้การสอนแบบสาธิตเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การออกแบบการสอนแบบสาธิตซึ่งต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น
จึงต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทตั้งแต่ก่อนการสาธิตจนกระทั่งหลังการสาธิต
12.
การวัดและประเมินผล
การสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่ผู้สอนหรือผู้สาธิตจะมีบทบาทในการประเมิน
อาจจะโดยการสังเกต วิเคราะห์คำตอบว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่เพียงใด
แต่การประเมินที่ดีคือการให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม
E-learning
ความหมายและลักษณะสำคัญของ e-learning
ความหมายของ e-learning มีผู้ที่ให้ความหมายหรือคำจำกัดความไว้หลายรูปแบบ
แต่จะข้อสรุปคร่าว ๆ ไว้ ดังนี้ e-learning คือ
เทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยอาศัยระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตเข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนนั้นมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
วิวัฒนาการของการใช้
e-learning ในประเทศไทย
ประเทศไทยนั้นได้มีการนำเทคโนโลยีที่ช่วยในการเรียนการสอน เข้ามาใช้เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยระยะ เริ่มตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในยการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็พัฒนามาเป็น สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
หรือ CAI ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนามาเป็น
WBI หรือการเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ ซึ่งสามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสื่อ CAI และเทคโนโลยีล่าสุดก็คือ e-learning ที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในขณะนี้
เพราะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงในการจัดการเรียนการสอน
ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเองเกิดความสะดวกและประหยัดเวลาได้มาก
สามารถสอนเนื้อหาและติดตามผลการเรียนของผู้เรียนได้อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน
รูปแบบการพัฒนา
e-learning ที่ใช้ในประเทศไทย
การพัฒนา e-learning
ที่ใช้ในประเทศไทย
พบว่าหน่วยงานแต่ละหน่วยที่ได้นำเอาเทคโนโลยี
e-learning ไปใช้ ได้พัฒนาระบบ e-learning ของตนเองซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป
ควรจะมีการจัดตั้งหน่วยงานที่เข้ามาดูแลและรับผิดชอบโดย
หรือจะพัฒนาบุคลากรให้เป็นผุ้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญก็ได้
แต่ปัญหาก็มีอยู่ว่ายังขาดงบประมาณในการสนับสนุน
การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้
e-learning
การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ e-learning ควรจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบโดยตรง
และงบประมาณก็ควรมีการสนับสนุนอย่างเต็มที่เพราะ
ปัญหาการพัฒนา
e-learning ในประเทศไทย
สำหรับปัญหาการพัฒนา e-learning
ในประเทศไทย อาทิเช่น
ปัญหาการขาดแคลนบุคลกรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี e-learning ปัญหาด้านงบประมาณที่ช่วยในการสนับสนุนการจัดทำ ปัญหาในเรื่องของการขาดความพร้อมในหลายๆ
อย่างส่งผลให้
ผลงานที่ได้ยังไม่ได้มาตรฐานเพียงพอและที่สำคัญในเรื่องราคาของซอฟแวร์ยังมีราคาสูงจนเกินไป ปัญหาต่างๆ
เหล่านี้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา e-learning ในประเทศไทยของเรา
ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไขเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในบ้านเราเพื่อทัดเทียมกับนานาประเทศ
ทำไมต้อง e - Learning
จากการคาดคะเนของนักลงทุนเน้นให้เห็นว่า
การลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
และองค์กรต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา เพิ่มจากสัดส่วน 5 เปอร์เซ็นต์ ในปี
1970 มาเป็นประมาณเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ในปี
1990 และในปี ค.ศ. 2000 นี้
ค่าใช้จ่ายทางด้านไอทีเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และความต้องการกำลังคนทางด้านนักคอมพิวเตอร์ของสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยในขณะนี้มีตำแหน่งงานทางด้านไอทีว่างอยู่ถึงกว่า 350,000 ตำแหน่ง
และจะเพิ่มเป็น 1.3 ล้านตำแหน่งที่ต้องการในปี 2006 นั่นหมายถึง การผลิตกำลังคน การเรียนการสอนต้องได้รับการพัฒนาและสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพได้มากขึ้นและเร็วขึ้น
e-Learning เป็นหนทางหนึ่งของการพัฒนากำลังคนในด้านการเรียนการสอนแบบออนไลน์
ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนอะไรก็ได้ เวลาใดก็ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งทำให้นิสิต นักศึกษา
พอใจกับการเรียนรู้ที่มีอิสระและคล่องตัว ระบบ e-Learning จะทำให้ลด
เวลาการเรียนรู้ได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระบบการสอนและฝึกอบรมแบบเดิมถึง 30-60 เปอร์เซ็นต์ แต่การใช้ e-Learning ยังอยู่ในยุคเริ่มต้นจากการคาดคะเนพบว่า
การใช้ e-Learning ในองค์กรบริษัทต่างๆ ที่จะทำในเรื่องของการฝึกอบรมพนักงานมีความต้องการสูงขึ้นมาก
โดยมีสภาพการขยายตัวมากกว่าสองเท่าทุกๆ ปี โดยเฉพาะการเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญสำหรับสถาบันการศึกษาต่างๆ
รูปแบบของ e-Learning
e-Learning เป็นรูปแบบของการเรียนการสอนที่นำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ร่วมกัน
ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำเสนอรูปแบบที่ชื่อว่า
KULN-Kasetsart University Learning Network ซึ่งเป็นโมเดลการเรียนการสอนแบบ
e-Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
และดำเนินกิจกรรมโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก เช่น eCommerce,
eBusiness รูปที่ 4 แสดงรูปแบบของ
e-Learning
การใช้ e-Learning
การใช้ e-Learning ต้องมีการบริหารจัดการ การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยบริการให้ถึงเป้าหมายได้ง่ายและรวดเร็ว
จุดเด่นของการเรียนรู้แบบนี้คือ การเข้าถึงเนื้อหาได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ สำหรับการสร้างเนื้อหาก็มีลักษณะที่ทำให้สิ่งที่สร้างขึ้นนั้นนำกลับมาใช้ได้ตลอดเวลาเรียกซ้ำได้ไม่รู้จบ
การดำเนินการต่างๆ จึงใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าช่วย เช่น การประเมินผล การสอบ ทดสอบความรู้ต่างๆ
ผลิตภัณฑ์ที่สร้างจาก e-Learning e-Learning เป็นงานที่สามารถมีผลผลิตและสร้างประโยชน์ทางการค้าได้
ดังนั้นจึงมีบริษัทและมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจที่จะเปิดตลาดทางด้านe-Learning
และสร้างผลผลิตในเรื่องเนื้อหาเพื่อนำออกมาใช้และจำหน่ายต่อไป ลักษณะของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนผ่าน
e-Learning ประกอบด้วย
e-Book เป็นการสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
Virtual Lab เป็นการสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทาง
simulation หรืออาจให้นักเรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ
หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Virtual Classroom เป็นการสร้างห้องเรียนจำลองขึ้นมา โดยใช้กระดานข่าวบนอินเทอร์เน็ต กระดานคุย
หรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
Web-based Instruction/Web-based training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพ็จเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
e-Library เป็นการสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายมีเป้าหมายอยู่ที่
one-stop service การเรียนการสอนก็เป็นการบริการอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่าย
การสนองตอบการเรียนรู้จึงต้องเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์หรือแสวงหาปัจจัยแห่งการเรียนรู้ได้ครบถ้วน
การเรียกผ่านเครือข่ายเข้าสู่ทรัพยากรต่างๆ ต้องทำจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ตั้งแต่การเข้าสู่ชั้นเรียน
การหยิบหนังสือ การนำเอาเอกสารคำสอน รูปภาพที่นำเสนอไปทบทวนได้เอง สามารถทำแบบทดสอบ
ประเมินผล ตลอดจนการแสวงหาเอกสารเพิ่มเติม ก็กระทำได้จากหน้าจอของผู้เรียนเช่นกัน
e-Learning เข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อการเรียนรู้ การสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถยังเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
ของการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน
ดร. บุญมาก
ศิริเนาวกุล ได้กล่าวถึง การศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ต ในคอลัมน์โลกาภิวัฒน์ หนังสือพิมพ์ไทยเดลินิวส์
หน้า 16 ประจำวันที่ 15 พฤษภาคม
2544 ไว้ดังนี้
การศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ต
หรือเรียกว่า
e-Learning หรือ e-education มีการพูดและเขียนถึงกันเป็นจำนวนมากในระยะนี้
แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้วนั้นยังไม่ได้เห็นรูปร่างกันมากนัก นอกจากการร่างแผนแม่บทที่เรียกว่า
"แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาแห่งชาติ"
ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
เมื่อเดือนมีนาคม 2544การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา มีองค์ประกอบ
4 ประการหลัก ดังนี้
1. โครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา
จะต้องมีการวางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศให้ครบทุกตำบล ซึ่งอาจจะใช้โครงการอินเทอร์เน็ตตำบลที่รัฐบาลคิดจะทำ
แต่จะให้อยู่ตามโรงเรียนต่าง ๆ ประจำตำบล และที่สำคัญที่สุด คือ รัฐบาลจะต้องให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะและบริการฟรี
หรือในราคาที่ถูกที่สุด
2. เนื้อหาหลักสูตรและวิชาเรียน
เนื้อหาสำหรับการศึกษาโดยทั่วๆ ไปนั้น กระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่างหลักสูตรสำหรับนักเรียนทั่วทั้งประเทศเป็นตำราเรียนมาแล้ว
แต่ในเนื้อหาหลักสูตรที่จะให้มีการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตจะต้องมีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ
และจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยตลาดซึ่งอาจจะมีคณะกรรมการสำหรับพัฒนาหลักสูตรวิชาเรียนสำหรับอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ
และมีสำนักงานสำหรับการดำเนินการ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของเนื้อหาหลักสูตรควบคู่ไปด้วย
3. โรงเรียนต่างๆ
ที่เป็นผู้เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต จะต้องมีโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศทุกตำบลเข้าร่วมโครงการ
ทั้งกรมสามัญศึกษา และสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ โดยที่ทุกโรงเรียนจะต้องมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ที่สามารถต่อการใช้อินเทอร์เน็ตได้ด้วยความเร็วที่พอรับได้อย่างเช่น ห้องเรียนละ
40 เครื่องต่อนักเรียน 2000 คน ต้องทำให้ได้อย่างน้อย
8000 โรงเรียนทั่วประเทศ และภายในระยะเวลา 4-6 ปี จะมีนักเรียนได้เรียน16 ล้านคนและจะต้องมีการอบรมครู-อาจารย์ อย่างสม่ำเสมอ
4. การเงินสำหรับโครงการ
ในเรื่องนี้สำคัญที่สุด มีผู้มองว่า น่าจะให้เอกชนทดลองทำมากกว่า และเก็บค่าบริการจากนักศึกษา
เพราะถ้าจะให้รัฐบาลทำอาจจะไม่สำเร็จได้ เพราะปัญหาเรื่องงบประมาณที่ทำโครงการนี้ ซึ่งใช้งบการลงทุนถึง
30,000 ล้านบาท หรือมากกว่าควรจะมีการบริหารโดยเอกชน แต่ควบคุมมาตรฐานการศึกษาโดยรัฐบาล
การศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตนี้ จะช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนมีความเท่าเทียมกันในทางด้านโอกาสการศึกษาซึ่งจะกระจายไปทั่วทุกตำบลของประเทศเมื่อความมหัศจรรย์ของเทคโนโลยีในยุคข้อมูลข่าวสารอย่างอินเทอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อการสื่อสาร
ธุรกิจ และชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกขณะ จึงไม่มีข้อยกเว้นใดๆ สำหรับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ที่ได้รับผลจากความเปลี่ยนแปลงนี้แล้วเช่นเดียวกัน
ในปัจจุบันรูปแบบการเรียนการสอนจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ระบบชั้นเรียนหรือทางไกลแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ยังรวมถึง e-Learning หรือการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจในแวดวงการศึกษา
รวมทั้งองค์กรธุรกิจที่ต้องจัดโปรแกรมฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
video
Conference
Introduction
to Video Conference System
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนี้การติดต่อสื่อสารถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในองค์ประกอบที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
ทำให้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่ง
ในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและในการติดต่อทางธุรกิจสิ่งหนึ่งที่จะขาดไปเสียมิได้คือ
การประชุม แต่การประชุมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราต้องเสียเวลาและพลาดโอกาสต่างๆ
ที่สำคัญ เนื่องจากต้องมีการเดินทางจากที่ต่างๆ เพื่อมาประชุมกัน ณ
สถานที่ที่กำหนดที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งในการเดินทางนั้นจะต้องเสียเวลา
ค่าใช้จ่ายและยังเกิดความเสี่ยงในการเดินทางขึ้นอีกด้วย
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้น
จึงมีความจำเป็นในการนำอุปกรณ์สื่อสารเข้ามาใช้ประโยชน์
Video
Conference System เป็น
การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่กันได้ทั้งภาพ เสียง
และข้อมูลในเวลาเดียวกัน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้
Video
Conference System
ในการนำระบบ Video Conference เข้ามาใช้ในธุรกิจนั้นช่วยให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยทางตรง คือ สามารถวัดผลที่ได้ออกมาในรูปของตัวเงิน
คือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนในทางอ้อมนั้นวัดเป็นรูปตัวเงินได้ยาก เช่น
ช่วยให้ประหยัดเวลา ช่วยอำนวยความสะดวก
ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง
ดังสามารถสรุปประโยชน์ที่ได้เป็นดังนี้
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากที่ต่าง
ๆ เพื่อมาประชุม,
อบรม
สามารถทำการประชุมเพื่อวิเคราะห์
แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรมากขึ้น
ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทาง
Video
on Demand
คือ
ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์
หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการตามสโลแกนว่าTo view "What
one wants. when one wants."โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร
(Telecommunications Networks)ผู้ใช้งาน
ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย(VideoClient)สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้น
ๆ โดยสามารถย้อนกลับ (Rewind)หรือกรอไปข้างหน้า (Forward)
หรือหยุดชั่วคราวได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกันกล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
การใช้งาน Video on Demand จะให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้มากกว่าระบบ Video Broadcast (เช่น
ระบบโทรทัศน์ทั่วไปซึ่งเป็นการส่งสัญญาณวิดีโอออกมาเป็นชุดเดียว(1 Stream) สำหรับผู้ใช้ทุกคน ผู้ใช้แต่ละคนจะได้ดูภาพสัญญาณอันเดียวกันรายการต่าง ๆ
จะมีตามเวลาที่กำหนดไว้ ผู้ใช้ต้องรอเวลาเพื่อที่จะได้ดูรายการที่ตนเองต้องการ)
กรณี
Video
on Demand ผู้ใช้แต่ละคนจะสามารถเลือกดูรายการที่ตนเองสนใจเวลาใดก็ได้
ไม่ขึ้นอยู่กับผู้อื่นและไม่ต้องรอตารางเวลาแต่ก็จะต้องใช้ความเร็วของเครือข่ายสื่อสารมากตามไปด้วยเนื่องจากจะต้องมีการส่งสัญญาณวิดีโอ
1 stream สำหรับผู้ใช้ 1 คน ระบบ Video on Demand นี้
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในแง่ให้ความบันเทิงและให้ความรู้
ตามแต่เนื้อหาของวิดีโอ
ที่เราจะบรรจุลงไป
ส่วนประกอบหลักของ
Video
on Demand
ส่วนประกอบหลักและการทำงานของแต่ละส่วนในระบบ
Video
on Demand มีดังต่อไปนี้
- เครื่อง Video Server
ระบบ
VOD จะทำการเก็บข้อมูลภาพเคลื่อนไหวเป็นแบบดิจิตัลบนเครื่อง video
server และเครื่อง server นั้นจะส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหวไปให้เครื่องลูกข่าย
(Video Client)ตามที่ขอมาโดยคุณสมบัติของ video server
ก็คืออัตราการเปลี่ยนแปลงของภาพต่อเนื่องจะต้องมากพอเพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดข้อมูลภาพและเสียงอย่างครบสมบูรณ์ให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่องสำหรับผู้ใช้ซึ่งอยู่ที่เครื่องลูกข่าย
และมีระบบอินพุต/เอาต์พุตที่มีประสิทธิภาพ
เครื่อง
video
server จะต้องมีระบบฮาร์ดดิสก์
ซึ่งใช้เก็บข้อมูลภาพยนตร์หรือภาพเคลื่อนไหวต่าง
ๆที่มีความเร็วมากพอที่จะทำการอ่านข้อมูลและส่งออกไปยังระบบเครือข่ายเพื่อส่งไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ต่อไปตามปกติแล้วข้อมูลวิดีโอมักจะมีขนาดใหญ่
และต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลมาก (1.5 Mbps สำหรับคุณภาพ
MPEF-1 หรือระดับVideo VHS และ 6-8
MBPS สำหรับคุณภาพ MPEG-2
หรือระดับเลเซอร์ดิสก์) ดังนั้นเครื่อง Video Serverจึงต้องมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับและแจกจ่ายข้อมูลวิดีโอเหล่านี้ไปยังลูกข่ายหรือไคลแอนต์ได้
เครื่อง
Video
Server จะมีที่เก็บข้อมูลเรียกว่า disk array ที่มีความจุและความเร็วสูง
ทำหน้าที่เป็นหน่วยเก็บภาพเคลื่อนไหว (Video)ซึ่งจะทำการจัดเก็บวิดีโอในตัวของมันในรูปแบบของบิต
ข้อมูลดิจิตัล
ข้อมูลที่เก็บอยู่จะผ่านการบีบอัดข้อมูล
(Data
Compression) โดยเครื่องเข้ารหัส (Encoder)ในรูปแบบมาตรฐานของMPEG
(Moving Picture Experts Group) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่พัฒนาเพื่อใช้กับการแพร่ภาพโทรทัศน์ในระบบดิจิตัล
ระบบ VODจะต้องมีส่วนเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่สามารถส่งข้อมูลออกทางเครือข่ายสื่อสารด้วยความเร็วมากพอ
โดยข้อมูลที่ถูกบีบอัดดังกล่าวจะถูกส่งผ่านเครือข่ายในลักษณะ real-time ไปยังเครื่องลูกข่ายที่เป็น Video Client และเนื่องจากข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจำนวนมากจะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ลูกข่ายตามที่ผู้ใช้ที่ปลายทางเรียกขึ้นมาดังนั้นระบบเครือข่ายสื่อสารที่จะมารองรับการใช้งานระบบ
VODจะต้องมีความเร็วและประสิทธิภาพสูงพอที่จะสามารถรองรับข้อมูลมัลติมีเดียจำนวนมหาศาลนี้ได้
เช่น
-
ATM
(Asynchronous Transfer Mode)
- FDDI (Fiber Distributed Data Interface)
-
DQDB
(Distributed Queue Dual Bus)
-
100-Mbps
Ethernet (IEEE 802.12)
ในบรรดาเครือข่ายทั้งหมดนี้
ระบบเครือข่าย
ATM (Asynchronous
Transfer Mode) เป็นเครือข่ายที่มาแรงที่สุด
และเป็นที่นิยมที่สุดในการใช้กับระบบ VOD เนื่องจาก ATMเป็นเครือข่ายซึ่งได้พัฒนามาเพื่อการส่งข้อมูลทุกรูปแบบที่ความเร็วสูงไม่ว่าจะเป็นข้อมูล
เสียง data หรือ video และมีการประกันคุณภาพการส่ง(Quality
of Service) ด้วย
เครื่องลูกข่าย
(Video
Client)
Video
Client เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อเล็กทรอนิกส์ที่สามารถแปลงข้อมูลที่ได้รับจาก
Video Server ให้เป็นสัญญาณภาพและแสดงผลขึ้นบนจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรทัศน์ที่เป็นEnd
User Equipment ได้
โครงสร้างโดยรวม (Architecture) ของระบบ Video on Demand จะประกอบด้วย video
server และ local database ซึ่งจะต่อถึงผู้ใช้งานโดยผ่านเครื่อข่ายสื่อสาร
ทางด้านเครื่อง video client ของผู้ใช้งานจะต้องประกอบด้วยส่วน
interface ตลอดจนส่วน decoder ข้อมูลที่ส่งมาจากเครื่อง
server และจะสามารถดูข้อมูลภาพเคลื่อนไหวผ่านจอ(อาจเป็นจอคอมพิวเตอร์หรือจอโทรทัศน์ก็ได้)และรับสัญญาณเสียงออกทางลำโพง
(speaker) ส่วนประกอบทางด้านผู้ใช้งาน แสดงดังรูปที่ 3 ส่วน network
interfaceทำหน้าที่ถอดรหัสสัญญาณที่เข้ามาและส่งต่อไปยังอุปกรณ์เอาต์พุต(จอและลำโพง)
ที่ได้เลือกใช้บริการจากระบบ VOD และยังทำหน้าที่แปลข้อมูลการเลือกของผู้ใช้
(ซึ่งผู้ใช้อาจเลือกผ่านรีโมตคอนโทรลคีย์บอร์ด
หรือเมาส์)เป็นสัญญาณที่ใช้สำหรับส่งต่อไปในเครือข่ายอีกด้วย
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการสั่งงานของผู้ใช้นั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะบริการของระบบ
VOD ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้บริการ Movies on Demandก็ควรจะเลือกภาพยนตร์และควบคุมฟังก์ชั่นโดยใช้รีโมตคอนโทรลแต่ถ้าใช้บริการในลักษณะ
Distance Learning การใช้คีย์บอร์ดดูจะเหมาะสมกว่า เป็นต้น
หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น
จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(กิดานันท์ มลิทอง. 2541:246)
1. นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ
อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
2. นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่
3. มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า
สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้
4. นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง
สถานะของนวัตกรรม
1. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้น
อาจเก่ามาจากที่อื่นและเหมาะที่จะนำมาปฏิบัติกับสถานที่นี้ใน สถานะการณ์ปัจจุบัน
2. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้
แต่ไม่ได้ผลและล้มเลิกไป เนื่องจากเกิดปัญหาต่าง ๆ และความไม่พร้อมในระยะนั้น
แต่ในสภาพปัจจุบันความคิดหรือ การปฏิบัติใหม่นั้นเหมาะสมที่จะนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง
3. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
เพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง และจะช่วยให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นถูกปฏิเสธมาครั้งหนึ่งแล้ว
อาจเนื่องมาจาก ผู้บริหารไม่สนับสนุน หรือมีเจตคติ ที่ไม่ดีต่อความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้น ต่อมาผู้บริหารได้
เปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดีหรือมีการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารใหม่
ทำให้ความคิดหรือการปฏิบัติ ใหม่นั้นได้รับการสนับสนุนนำมาใช้
5. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดหรือปฏิบัติมาก่อน
เป็นสิ่งที่ได้รับ การคิดค้นได้เป็นคนแรก
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้
เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น
(Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป
(Programmed Text Book)
- เครื่องสอน
(Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ
(TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม
(Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน
(Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
(School within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น
(Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา
นวัตกรรมที่ สนองแนวความคิด เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น
(Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด
(Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป
(Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร
นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
พัฒนาการทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
มีอีกคำหนึ่งที่ไม่อาจจะแยกจากคำว่าเทคโนโลยี
นวัตกรรม นั่นก็คือ สารสนเทศ การที่จะพัฒนากระบวนการศึกษาให้ก้าวไกล
ด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี หรือการหาแนวทาง วิธีการใหม่ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรมนั้น
ในปัจจุบันต้องพึ่งพากลไกทางสารสนเทศ เกือบทั้งสิ้น
ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกได้เคลื่อนตัวสู่ยุคแห่ง“สังคมสารสนเทศ”
(Information Society) ซึ่งถือเป็นยุคที่สาม (ถัดจาก “ยุคเกษตร” และ “ยุคอุตสาหกรรม”)
ที่มี “สารสนเทศ” เป็นหัวใจหลักของการพัฒนา
สารสนเทศนี้เองที่เป็นส่วนสำคัญ ที่ส่งผลกระทบในด้านต่างๆมากมาย
เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ภาคการบริการจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเทียบเท่ากับภาคการผลิต
ประชากรในทุกมุมของโลกต่างบริโภค ข้อมูลข่าวสาร มากขึ้น
นำมาซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและเศรษฐกิจ (The information
industry and the economy) การจ้างงานภาคสารสนเทศ
ถือได้ว่าเป็นยุคสมัยแห่งการปฎิวัติระบบการพัฒนาของมนุษย์
ซึ่งเราไม่อาจจะปฎิเสธได้ว่า ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ในขบวนการพัฒนาทางสังคม
ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านการศึกษา การสาธารณสุข
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการบริหารทั้งภาครัฐรวมถึงแวดวงธุรกิจ
การจะพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั้น
จึงจำเป็นต้องศึกษา ความเป็นมา หรือพัฒนาการของสารสนเทศ พร้อมๆกันไปด้วย
เรามาศึกษาวิวัฒนาการของสารสนเทศที่เกี่ยวของกับการศึกษากัน
นับแต่อดีต ชาวกรีกโบราณ
ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย
การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย
นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน
ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียว เพลโต
นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น
จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น
สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น
ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา
ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาในหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน อาทิ การจัดตั้งแผนกโสตทัศนศึกษาขึ้นในกองการศึกษาผู้ใหญ่
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ในปี พ.ศ.2483) ทำหน้าที่พัฒนา จัดหา
จัดซื้อ จัดสร้างสื่อ และให้บริการโสตทัศนวัสดุ อาทิ ฟีล์มภาพยนตร์ สไลด์
ฟีล์มสตริป เป็นต้น (ปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
และมีหน่วยงานโสตทัศนศึกษาตามจังหวัดต่างๆ(ปัจจุบันไม่มีแล้ว)
ทำหน้าเป็นหน่วยบริการเผยแพร่ให้ความรู้สู่ชุมชนผ่านวิธีการฉายภาพยนตร์กลางแปลงในที่ชุมชนทั้งในเมืองและชนบท
รวมถึงให้บริการด้านโสตทัศนูปกรณ์ให้กับประชาชนและสถานศึกษา
ต่อมาได้ขยายการให้บริการโสตทัศนวัสดุในภูมิภาคในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคทั้ง 5 ภาค (ปัจจุบันเป็น
สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาค...) ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้มีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โทจนถึงระดับปริญญาเอก
ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง
ดูรายละเอียดพัฒนาการเพิ่มเติม
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ
ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย
การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ
ซึ่ง นักวิชาการได้แบ่งประเภทของนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายลักษณะ
แต่จะขอจำแนกในส่วนที่สำคัญ 2 ลักษณะ คือ
1.
นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
เป็นนวัตกรรมที่มีขอบเขต
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกด้าน ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน
สื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การวัดและประเมินผล และการบริหาร ทัศนา แขมมณี (2526 : 13) และวาทิต ระถี (2531) ได้แบ่งประเภทนวัตกรรมการศึกษาออกเป็น
5 ด้าน คือ
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
2.
นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก
2.1
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference)
การจัด
การศึกษาตามแผนการศึกษาแทบทุกฉบับ มุ่งให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่าง
บุคคลโดยพิจารณาความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนบุคลิกลักษณะของผู้เรียน
แต่ละคนเป็นเกณฑ์
นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวคิดพื้นฐานด้านนี้มีหลายอย่างคือ
2.1.1 การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
2.1.2 เครื่องสอน (Teaching Machine)
2.1.3 บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนด้วยตนเอง (Programmed Text Book or
Programmed Instruction)
2.1.4 สื่อประสม (Multi-media ) หรือชุดการสอน (Learning
Packages)
2.1.5 การสอนแบบเป็นคณะ (Team Teaching)
2.1.6 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School)
2.1.7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2.1.8 ชุดการสอนย่อย (Minicourse)
2.2 ความพร้อม(Readiness)
ความพร้อมสามารถสร้างขึ้นได้ในตัวผู้เรียน
ดังนั้นการจัดลำดับเนื้อหา ผนวกกับการนำ
นวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้จะช่วยสร้างความพร้อม ได้อย่างดี
นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ มีหลายอย่างดังนี้
2.2.1 ศูนย์การเรียน (Learning Center)
2.2.2 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School)
2.2.3 การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in Three
Phases)
2.3
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Use of Time)
แนวการจัดหน่วยเวลา
สำหรับการเรียนการสอนในปัจจุบันยึดถือความสัมพันธ์ ของเวลา
กับลักษณะเนื้อหาของแต่ละ วิชานั่นคือ เนื้อหาวิชาเป็นตัวแปรหลัก
ส่วนเวลาเป็นตัวแปรตามซึ่งแตกต่างจากแนวการจัด แบบเดิมมาก
ดังนั้นแต่ละวิชาจึงมีช่วงเวลาการสอนไม่เท่ากัน และสถานที่เรียนก็ไม่จำกัดอยู่
เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น นวัตกรรมการศึกษาที่สนองแนวคิด พื้นฐานด้านนี้ ได้แก่
2.3.1 การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
2.3.2 มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
2.3.3 แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
2.3.4 การเรียนทางไกล (Distance Education) และการเรียน
ทางไปรษณีย์ (Mailed Education)
2.4
การขยายตัวทางด้านวิชาการและการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร
ปัจจุบันนี้การขยายตัวทางด้านวิชาการมีมากและ
รวดเร็วมากมีการคิดค้นวิชาการใหม่ ๆ แปลก ๆ เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม
โดยเฉพาะวิชาการด้านวิชาชีพ และการ ใช้เวลาในการเรียนก็แตกต่างจากเดิมมาก
วิชาที่ใช้เวลาเรียนสั้น ๆ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะ การฝึกอบรม การเสริมความรู้
การศึกษาแบบอิสระ มีเพิ่มมากขึ้นจำนวนผู้เรียนก็เปลี่ยนไป คือ
แต่เดิมอัตราการเพิ่มของประชากรมีน้อย ระยะหลัง ๆ การเพิ่มมีมากเนื่องจากอัตรา
การเกิดสูง แต่ในปัจจุบันการคุมกำเนิดได้ผลมาก
อัตราการเกิดก็ต่ำทำให้อัตราการเพิ่ม ของประชากรน้อยด้วย
นวัตกรรมที่นำมาใช้จัดการศึกษา จึงแตกต่างกันไป ตามองค์ประกอบ เหล่านั้น
นวัตกรรมการศึกษา*ี่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ มีดังนี้
2.4.1 มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
2.4.2 การเรียนทางสื่อมวลชน (Mass Communication Education) อันได้แก่ การเรียนทางวิทยุ การเรียนทาง โทรทัศน์ การเรียนทางไปรษณีย์
ตลอดจนการเรียนจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
2.4.3 สื่อประสม (Multi-Media ) หรือ ชุด การสอน (Learning
Packages)
แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง
ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง
ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
1. การรวมตัวของสื่อ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท
ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล เป็นต้น
1.
สื่อขนาดเล็ก
สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น
เช่น กล้องถ่ายวีดิทัศน์ การผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว
ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก
ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
2.
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก
โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง
โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์
(Video
Teleconference)
3.
อินเทอร์เน็ต
และเวิร์ล ไวด์ เว็บ
อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง
ๆ กัน
6. ทางด่วนสารสนเทศ (Information
Superhighway) เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน
โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
การออกแบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในการจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการเรียนการสอนในห้องเรียน การสอนในห้องเรียนที่ใช้ประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นสื่อในการเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและผู้สอนเหมือนกับอยู่ในห้องเรียนจริงในลักษณะของห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)
คือสามารถที่จะเรียนเนื้อหา อภิปราย สัมมนา ซักถามและตอบปัญหาการเรียนโดยการเรียนการสอนกระทำได้ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน
(Client) ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (Server) โดยการเชื่อมโยงนี้สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของการเชื่อมระยะใกล้ผ่านเครือข่ายภายใน
(LAN) หรือการเชื่อมโยงระยะไกล (Remote Login) ผ่านโมเด็มก็ได้ การดำเนินการสอนจะดำเนินไปโดยผ่านเว็บไซต์ (Web
site) โดยการนำเสนอสื่อในลักษณะของสื่อประสมที่นำเสนอทั้งข้อความ ภาพถ่าย
ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว (Graphic Animation) ภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริง
(Video) เสียง (Sound) และเสียงประกอบ
(Effect) โดยผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีการปฏิสัมพันธ์แบบในทันทีทันใด
เช่น การสนทนาผ่านกลุ่มสนทนา (Chat or IRC) และการปฏิสัมพันธ์แบบไม่ทันทีทันใด
เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E - mail) การตอบปัญหาผ่านกลุ่มข่าว (News Group)
รูปแบบการออกแบบระบบการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
แมคมานัส (Mcmanus.1998)ได้เสนอรูปแบบการออกแบบระบบการเรียนการสอนด้วยอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เอชดีเอ็ม
(HDM: Hypermedia Design Model) โดยประกอบด้วย
1.
การกำหนดขอบเขตของการเรียนการสอน
2.
การกำหนดองค์ประกอบของกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
3.
รวบรวมหัวข้อความรู้เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กรณีตัวอย่าง
4.
เชื่อมโยงแนวทางต่าง ๆ เข้าสู่กรณีที่จะแสดงความนึกคิด
5.
ให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนโดยใช้กรณีตัวอย่าง
6.
ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการตรวจสอบตนเอง
การจัดห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual
Classroom)
การ
เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่
21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก
ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ
เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดน
อินเทอร์เน็ตคือ
โลกเสมือนจริง
(Cyber Space)
อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ปฏิวัติวิถีชีวิตในโลกนี้อย่างกว้างขวาง
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมากยิ่งกว่าครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เพราะกิจกรรมของมนุษย์ทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นการทำมาหากิน การศึกษาหาความรู้ การพักผ่อนหย่อนใจล้วนเปลี่ยนไปเพราะมีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
การซื้อขายสินค้าและบริการเกือบทุกอย่างจะกระทำผ่าน อินเทอร์เน็ตในสัดส่วนที่มากขึ้นทุกวันด้วยอัตราการเจริญเติบโตแบบทวีคูณ
สื่อข่าวสารและสื่อบันเทิงต่างๆ มีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ต การศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ตกำลังจะกลายเป็นรูปแบบปกติของการศึกษาในอนาคตอันใกล้
โลกของอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงโลกเสมือนจริงไม่มีตัวตนให้เราสัมผัสได้ แต่ก็เป็นโลกที่สามารถบันดาลความจริงให้เกิดขึ้น
เพราะเมื่อเราสั่งซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตกับร้านค้าที่ไม่มีอาคาร มีแต่หน้าร้านจำลองบนเว็ปไซต์
สินค้าก็ยังส่งมาถึงเราได้ เราฝากเงินกับธนาคารบนอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้เงินที่ฝากไว้นั้นไปซื้อสินค้าได้
เราลงทะเบียนเรียนกับ
"Virtual University" บนอินเทอร์เน็ตเรียนจบเราก็ได้รับปริญญาซึ่งเป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกับปริญญาจากมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตจริง
กิจกรรมเสมือนจริง (Virtual Activities) ต่างๆ เหล่านี้นับวันจะมีความแพร่หลายมากขึ้น
และนับวันความแตกต่างระหว่าง Virtual กับ Real และระหว่าง Cyber Space กับ Physical Space จะน้อยลงทุกทีแต่ Virtual กับ Cyber จะมีข้อได้เปรียบกว่าอย่างน้อยก็ในเรื่องความประหยัดค่าใช้จ่ายและในเรื่องความไร้พรมแดนจะเห็นได้ว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเสมือน(Virtual)
ทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ตให้ผลที่เป็นจริงได้ก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน
สิ่งเสมือนต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ควรรู้จัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น